คำแนะนำผิวสเตนเลส-ผิวสีสำเร็จ (Coloured Finishes)
ผิวสีสำเร็จด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า (Electrolytically Coloured Finishes)
ชั้นผิวโครเมียมออกไซด์ เป็นสารเฉื่อยที่ผิวของสเตนเลส มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนและหากว่ามันเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะมีการซ่อมแซมตัวมันเองโดยการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน ชั้นผิวสามารถทำเป็นสีด้วยกระบวนการทางเคมี โดยยึดให้เกิดความติดแน่นโดยกระบวนการทางไฟฟ้า
สเตนเลสออสเทนนิติก เป็นเกรดที่มีความเหมาะสมกับกระบวนการเหล่านี้ เวลาที่ใช้แช่สเตนเลสลงในบ่อกรด เป็นเรื่องที่สำคัญต่อการสร้างชั้นฟิล์มที่ผิวของสเตนเลส ลักษณะทางกายภาพของชั้นฟิล์มส่งผลต่อการสะท้อนของแสง เช่น หากแสงเข้ามาจะเกิดปรากฏการณ์สะท้อนออกเป็นสีต่างๆ สีที่มีการทำขึ้นได้แก่ สีเงิน สีทอง สีแดง สีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียวดังนี้จะสัมพันธ์กับความหนาของชั้นฟิล์มตั้งแต่ 0.2ไมครอน จนถึง 0.36 ไมครอน
ชั้นฟิล์มโครเมียมออกไซด์เดิมจะให้สีน้อย เนื่องจากมันจะไม่ตอบสนองต่อแสงเหนือสีม่วง (ultraviolet)และกระบวนการทำสีก็ไม่เกี่ยวข้องกับเม็ดสีใดๆ การประกอบ สามารถทำได้โดยไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดการแตกขึ้นของชั้นฟิล์ม แต่ในกรณีการดัดโค้ง ชั้นฟิล์มเฉื่อยเกิดรอยขีดข่วนตามแนวที่ความหนาลดลง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสีที่มองเห็นด้วย
เนื่องจากชั้นฟิล์มมีลักษณะโปร่งใส การกระทำใดๆ จึงมีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์สุดท้าย เช่น ผิวหยาบจะทำให้ได้สีหยาบๆ ส่วนผิวแบบเงากระจกจะได้แสงสีสะท้อนได้ดี
กระบวนการเหล่านี้ส่งผลให้ได้สีที่ถาวร โดยไม่ต้องมีการทำซ้ำอีก (ไม่เหมือนกับผิวทาสี) ดังนั้น จึงต้องคอยดูแลอย่าให้เกิดความเสียหายขึ้นกับผิว เพราะว่ามันมักซ่อมแซมไม่ได้ สเตนเลสผิวสีหากนำไปเชื่อมบริเวณเหล่านั้น ก็จะเกิดความเสียหายของสีเกิดขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาพป้ายอัตลักษณ์ ของ
บริษัทคอนเฟคชันเนรีที่
อังเรท บรีอันซา (มิลาน)
ประเทศอิตาลี ตั้งอยู่บน
เทาเวอร์สูง 22 เมตรหุ้ม
ด้วยสเตนเลสสี ที่ทำจาก
กระบวนการไฟฟ้า
สเตนเลสสามารถนำไปทำผิวสีดำได้ โดยการใช้สารละลายประเภทโซเดียมไดโครเมท (sodium dichromate) การดูแลและการทำความสะอาดสเตนเลสผิวสีต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างถาวร ดังนั้นจะต้องไม่ใช้สารทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอไรด์
นี้เป็นตัวอย่างสีบางชนิดที่สามารถทำกับ
ผิวสเตนเลสด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า